CLOCK

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

“พระอัจฉริยภาพของพ่อหลวงด้านการกีฬา”

พระอัจฉริยภาพของพ่อหลวงด้านการกีฬา

ทุกคนอาจจะทราบว่าพ่อหลวงของเรานั้นทรงมีพระปรีชาสามารถของพระองค์ นั้นได้มีหลายด้านและ ในด้านที่ กระผม ได้กล่าวถึงในด้านนี้คือ ด้านการกีฬา ใครๆอาจจะคิดได้ว่า กีฬานั้นเป็นสิ่ง ง่ายๆ ครับ แต่ ก็ ยากสำหรับใครบางคน แต่

พ่อหลวงของเรานั้น ทรงมีพระปรีชาสามารถ อย่างยิ่ง ในด้านกีฬานี้ คือกีฬา

แข่งเรือใบ พระองค์ ทรง

เป็นที่ทราบกันดีว่า เรือใบนั้นเป็นกีฬาทรงโปรดและยังได้แสดงพระอัจฉริยภาพด้วยการต่อเรือจากฝีพระหัตถ์ โดยลำแรกที่ทรงต่อด้วยพระองค์เองเป็นเรือใบพระที่นั่งเอ็นเตอร์ไพรส์ โดยพระราชทานชื่อเรือว่า ราชปะแตนและต่อมาทรงต่อเรือใบประเภท OK ขึ้นอีก พระราชทานชื่อว่า นวฤกษ์ซึ่งเรือนวฤกษ์นี้เองทรงนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔

นอกจากนี้ยังทรงก่อตั้งสโมสรเรือใบส่วนพระองค์ขึ้นคือสโมสรเรือใบจิตรลดา ทั้งยังมีพระมหากรุณาธิคุณรับสโมสรเรือใบต่างๆ มาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น สโมสรเรือใบราชวรุณ สโมสรเรือใบกรมอู่ทหารเรือ สโมสรเรือใบฐานทัพเรือสัตหีบ สโมสรเรือใบนาวิกโยธิน และสโมสรเรือใบกองเรือยุทธการ เป็นต้น

ปัจจุบันแม้ว่าพระองค์ท่านจะทรงเรือใบไม่มากเท่าแต่ก่อนอันเนื่องจากมีพระราชกรณียกิจมาก แต่กระนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นี้ก็ทรงแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกแล้วว่า ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดหรือประมุขชาติใดในโลกที่ทรงเป็นนักกีฬาที่ยอดเยี่ยมและให้ความสำคัญต่อการกีฬา ตลอดจนสนับสนุนการกีฬาเทียบเท่าพระองค์ท่านได้เลย

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

นศท.พสธร อินทรชิต

โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัภม์ฯ

ผลัดที่ 32 กองพัน.34 กองร้อยที่ 3

วันที่ 9 กุมภาพันธุ์ 2554

2 ความคิดเห็น:

  1. “พระอัจฉริยภาพด้านการจัดการน้ำ”
    ทุกท่าน คงจะทราบว่า ทรัพยากรน้ำ นั้นใช้แล้วหมดไป หรือ อาจจะก่อให้เกิดมลภาวะหรือมลพิษในด้านต่าง พระปรีชาสามารถของพ่อหลวงของเรานั้นได้ คิดค้นและค้นคว้าทรงริเริ่ม ประดิษฐ์ กังหันชัยพัฒนา ที่ช่วยในการเพิ่มหรือปรับปรุงแหล่งน้ำและเก็บน้ำไว้ เพื่อวันข้างใน ในวันที่ขาดแคลน ของประชาชนชาวไทย

    จากการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรนับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ ทำให้ทรงตระหนักว่าภัยแล้งและน้ำเพื่อการเกษตรและบริโภคอุปโภคเป็นปัญหาที่รุนแรงและสำคัญที่สุด การจัดการทรัพยากรน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและบริโภคอุปโภค นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกส่วนใหญ่ทุกภาคของประเทศเป็นพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝน และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่ต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระราชหฤทัยเกี่ยวกับการจัดการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอย่างยิ่ง มีพระราชดำริว่าน้ำคือปัจจัยสำคัญต่อมนุษย์และบรรดาสิ่งมีชีวิตอย่างถ่องแท้ ดังพระราชดำรัส ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า “…หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้…”


    นศท.พสธร อินทรชิต
    โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัภม์ฯ
    ผลัดที่ 32 กองพัน.34 กองร้อยที่ 3
    วันที่ 9 กุมภาพันธุ์ 2554

    ตอบลบ
  2. “พระอัจฉริยภาพของพ่อหลวงด้านดุริยางคศิลป์”

    พ่อหลวงของเรานั้น ทรง มีพระอัจฉริยภาพของ ท่าน บางด้านที่เราอาจจะไม่รู้หรือไม่ได้ทราบ มาก่อน หรือบางท่านอาจจะทราบแล้ว แต่เรื่องที่ผมจะยกมานี้คือ

    พระอัจฉริยภาพของพ่อหลวงของเรา ในด้าน”ดุริยางคศิลป์”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้น ทรงได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการสำนักวัฒนธรรมแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2529 ให้เป็นองค์อัครศิลปิน

    ทรงแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางดนตรีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงได้รับการฝึกหัดดนตรีตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา ทรงนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงสะสมไว้ไปซื้อคลาริเนตมาทรงฝึกเป่า นอกจากนั้นยังสามารถทรงดนตรีอื่น ๆ ได้อีกหลายชนิด

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เพลงด้วยพระองค์เองมาตลอดตั้งพุทธศักราช 2489 จนถึงปัจจุบัน นับได้ เกือบ 50 เพลง ซึ้งล้วนแต่เป็นบทเพลงที่ทรง
    พระราชนิพนธ์ มาด้วย ตัวของ ท่านเอง


    นศท.พสธร อินทรชิต
    โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัภม์ฯ
    ผลัดที่ 32 กองพัน.34 กองร้อยที่ 3
    วันที่ 9 กุมภาพันธุ์ 2554

    ตอบลบ